การนอนดึก ผลเสียที่เห็นได้ชัดเจนคือสุขภาพ โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากช่วงเวลานอนที่ร่างกายหลับลึกจะเป็นช่วงที่โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมา แน่นอนว่าหากนอนดึกระบบต่าง ๆ ในร่างกายย่อมเปลี่ยนแปลง และส่งผลเสียในหลายด้าน มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้เด็กนอนดึก ผู้ปกครองจะมีวิธีรับมือและแก้ปัญหาอย่างไร วันนี้เมดิก้า เซ็นเตอร์มีคำตอบ
สาเหตุของการนอนดึก
การนอนดึก ผลเสียเกิดขึ้นได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย อาจเกิดจากหลายปัจจัยซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจในระยะยาว ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตและทำงานเปลี่ยนแปลง เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ดังนี้
- สภาพแวดล้อมตอนนอนไม่เหมาะสม
ในห้องที่มีสภาพแวดล้อมสว่างมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายอาจเข้าใจว่ายังไม่ถึงเวลานอน รวมถึงเสียงดังมากเกินไปด้วย
- การเปลี่ยนแปลงตารางเวลานอน
ในวัยเรียนอาจต้องทำการบ้านหรืออ่านหนังสือสอบที่เยอะเกินไป และเด็กไม่สามารถจัดตารางเวลาได้ด้วยตนเอง ทำให้เวลาเข้านอนรวนหรืออาจใช้เวลาที่ควรนอนมาทำการบ้านและอ่านหนังสือแทน ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ส่วนในวัยทำงานมักพบในบางอาชีพที่ทำงานเข้ากะกลางคืนหรือต้องเปลี่ยนกะตลอดเวลา เมื่อร่างกายเปลี่ยนเวลานอนบ่อยจะทำให้ง่วงซึม อ่อนเพลียในเวลากลางวัน เพราะร่างกายต้องการพักผ่อนและไม่สามารถปรับเวลาได้ทัน
- เจ็ตแล็ก (Jet lag)
หากลูกหลานของคุณเรียนอยู่ต่างประเทศ หรือต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยครั้งอาจเกิดอาการนี้ เนื่องจากโซนเวลาต่างกันแล้วร่างกายยังปรับเวลาไม่ได้ โดยเฉพาะประเทศที่มีเขตเวลาช้ากว่า 10 ชั่วโมง หากเดินทางแต่ช่วงเช้าแล้วเครื่องลงจอดเมื่อถึงที่หมาย ร่างกายจะเข้าใจว่าเป็นเวลากลางคืนซึ่งร่างกายต้องการพักผ่อนนั่นเอง
- ผลกระทบจากยาและแอลกอฮอล์
หากลูกของคุณต้องกินยาบางชนิดอยู่เป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการง่วงหรือทำให้มีปัญหาในการนอนหลับได้ รวมถึงวัยรุ่นบางคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอนหรือมีปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนบ่อย ๆ อาจทำให้ไม่ง่วงนอน แต่หากดื่มช่วงอื่นอาจไม่มีผล
ทั้งนี้ คนที่นอนดึกผลเสียจะส่งสัญญาณในอาการป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น มีภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ภาวะสมองเสื่อม การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรืออาการอื่น ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ผลเสียของการนอนดึก
การนอนดึกส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพมากกว่าที่หลายคนคาดคิด นักวิจัยด้านการนอนหลับพบว่า เนื่องจากร่างกายของเรามีนาฬิกาที่ถูกตั้งโปรแกรมให้ทำงานตามเวลากลางวัน-กลางคืน แต่หากเราฝืนธรรมชาตินี้ด้วยการนอนดึก จะเกิดความเสียหายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะอาจทำให้อารมณ์หลังตื่นนอนผิดปกติ เช่น เกิดความคิดด้านลบ วิตกกังวล โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นต้น
โรคที่เกิดจากการนอนดึก
- โรคนอนไม่หลับผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาเกิน 30 นาทีกว่าจะหลับได้ และอาจมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ ร่วมด้วย หรือแม้แต่สะดุ้งตื่นกลางดึก
- โรคซึมเศร้า การนอนดึกส่งผลต่ออารมณ์หลังจากตื่นนอน เช่น กระบวนการคิดในเชิงลบ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
- เป็นโรคอ้วน เพราะความสัมพันธ์ของค่า BMI ที่สูงขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ทั้งนี้อาจมีผลมาจาก 3 ปัจจัยร่วมดังนี้
- ฮอร์โมนเครียด : ฮอร์โมนเครียดคอร์ติซอล จะหลั่งมากขึ้นในวันถัดมา หลังจากที่เรานอนดึก และกระตุ้นให้อยากของหวาน ๆ หรือน้ำตาลมากกว่าเดิม
- ฮอร์โมนหิว : การนอนดึกทำให้ฮอร์โมนเกรลิน หรือฮอร์โมนหิวหลั่งเพิ่มขึ้น จึงหิวมากกว่าเดิมแบบคูณสอง
- ฮอร์โมนอิ่ม : เมื่อนอนดึกฮอร์โมนเลปติน หรือฮอร์โมนอิ่มจะหลั่งลดลง ทำให้ทานเท่าไรก็ไม่ค่อยอิ่ม
- โรคเบาหวาน การนอนดึกผลเสียที่ตามมาอาจทำให้ร่างกายหยุดผลิตอินซูลินได้ เนื่องจากร่างกายใช้อินซูลินดูดซับน้ำตาลในกระแสเลือด ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและนำไปสู่โรคเบาหวาน
- อาการของภาวะขาดโกรทฮอร์โมน เมื่อโกรทฮอร์โมนทำงานผิดปกติ นอกจากอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าค่าปกติแล้ว ลูกยังอาจมีอาการเสียงเล็กแหลม รูปร่างเตี้ยด้วยนั่นเอง
วิธีแก้ปัญหาการนอนดึกที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลใจ เมื่อรู้ปัญหาแล้วก็ควรแก้ให้ตรงจุด ได้แก่
- ให้ลูกหลานฝึกจัดการกับการบ้านหรือการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนแต่เนิ่น ๆ อย่างเป็นระบบในเวลาที่เหมาะสมทั้งช่วงก่อนสอบ หรือก่อนเปิดเทอม และเรียงลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรก่อนหลังใน 1 วันก่อนถึงเวลาเข้านอน
- กำหนดเวลาเข้านอนตามที่ผู้ปกครองเห็นสมควรตั้งแต่หัวค่ำ และไม่เกิน 21.00 น. และให้ลูกหลานได้มีเวลาที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน
- อย่าทำกิจกรรมที่รบกวนการนอน เช่น ดูทีวีและเปิดเพลงเสียงดัง ใช้เตียงเพื่อการนอนหรือกิจกรรมทางเพศเท่านั้น
- สวมใส่แว่นตาเลนส์สีเหลืองหรือส้มเมื่อต้องทำงานในตอนดึก เนื่องจากแสงสีฟ้าเป็นอันตรายกับดวงตา ดังนั้นสวมเพื่อป้องกันย่อมดีกว่า
- จำกัดการบริโภคคาเฟอีนหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนในตอนบ่าย ให้เปลี่ยนมาดื่มตอนเช้าได้
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน เพราะอาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก แถมยังทำลายสุขภาพระยะยาวด้วย
หรือสามารถอ่าน ‘8 วิธีแก้นอนไม่หลับ ต้องทำอย่างไร’ เพิ่มเติมได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ เพิ่มความสูงด้วยความเข้าใจทุกปัญหา
รู้แบบนี้…เพียงแค่พยายามนอนให้เร็ว ๆ ไม่เกินสี่ทุ่มทุกวันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของการนอนดึก ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ตื่นเช้ามาด้วยความสดใส แถมไม่เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาด้วยค่ะ แต่ถ้าหากลองปรับพฤติกรรมต่าง ๆ แล้ว ลูกหลานยังมีอาการตามที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ปกครองควรปรึกษาผู้ชำนาญการเพื่อช่วยแก้ปัญหา เพราะอาจมีผลในเรื่องของความสูงในอนาคต โดยเฉพาะที่เมดิก้า เซ็นเตอร์ เราดูแลเคสมากมายที่ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจมาแล้วกว่า 1000 ราย และมีประสบการณ์กว่า 20 ปี พร้อมให้คำปรึกษาทุกเรื่องเพิ่มความสูงในเด็ก
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
Growth Spurt คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการเพิ่มความสูงในเด็ก ?
ลูกไม่สูง มีภาวะตัวเตี้ย ขาดโกรทฮอร์โมนแก้ปัญหาอย่างไร
วิธีเพิ่มความสูงผู้หญิงหลังมีประจำเดือน มีอะไรบ้าง
อยากสูงควรนอนกี่โมง? นอนอย่างไรให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนมากที่สุด
เด็กนอนดึกควรแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด
ผ่าตัดเพิ่มความสูง เหมาะกับใคร ? อันตรายหรือไม่ ?
วิธีเพิ่มความสูงผู้ชายช่วงวัยรุ่น มีอะไรบ้าง
กินอะไรหลับง่าย 10 อาหารกินแล้วง่วง แก้โรคนอนไม่หลับ
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่