ความกังวลของพ่อแม่เมื่อลูกไม่สูง อาจเข้าใจได้ว่าลูกกำลังเผชิญกับภาวะตัวเตี้ยหรือกำลังขาดโกรทฮอร์โมนอยู่ โดยเฉพาะเมื่อสังเกตเห็นว่าลูกมีรูปร่างเล็กกว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ดังนั้นการเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงและรู้จักวิธีสังเกตอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด วันนี้เมดิก้า เซ็นเตอร์ จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจว่าอะไรคือภาวะตัวเตี้ย หรือความสูงที่ตกเกณฑ์
ภาวะตัวเตี้ยคืออะไร
ภาวะตัวเตี้ย (Short Stature) หมายถึงสภาวะที่บุคคลมีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยปกติอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับคนในวัยและเพศเดียวกัน โดยทางการแพทย์มักใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าจะมีส่วนสูงที่ต่ำกว่าเส้นเปอร์เซ็นไทล์ที่ 3 (ต่ำกว่า 3rd percentile) อาจเริ่มเห็นชัดในช่วงอายุ 2 ขวบขึ้นไป และชัดเจนในวัยเรียน
สาเหตุของภาวะเตี้ยที่ทำให้ลูกไม่สูง
1. ภาวะเตี้ยปกติ
เกิดจากกรรมพันธุ์ (Familial Short Stature) : หากพ่อแม่มีรูปร่างเล็กอาจทำให้ลูกไม่สูงตามกรรมพันธุ์ได้ โดยมักพบประวัติญาติพี่น้องในครอบครัวมีรูปร่างเตี้ยเช่นกัน ส่วนในกรณีที่มีการเจริญเติบโตเป็นปกติ โดยอายุกระดูกสอดคล้องกับอายุจริง แต่ส่วนสูงสุดท้ายจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเด็กทั่วไป อาจต้องตรวจดูแบบละเอียดจากแพทย์อีกครั้ง ทั้งนี้ สามารถคำนวณความสูงเป้าหมายเบื้องต้นได้จากความสูงของพ่อและแม่ ดังนี้
- สำหรับเด็กชาย : (ความสูงพ่อ + ความสูงแม่ + 13) ÷ 2
- สำหรับเด็กหญิง : (ความสูงพ่อ + ความสูงแม่ – 13) ÷ 2
เด็กที่เตี้ยแบบม้าตีนปลาย (Constitutional Growth Delay) : เด็กกลุ่มนี้จะตัวเล็กกว่าช่วงวัยเดียวกัน และมักมีน้ำหนักตัวและส่วนสูงแรกเกิดปกติ และมักเข้าสู่ช่วงเจริญเติบโต (Growth Spurt) ช้ากว่าปกติแต่จะสูงตามทันในภายหลัง นอกจากนี้เด็กมักมีอายุกระดูกน้อยกว่าอายุจริง 2-3 ปี ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภาวะนี้
ทั้งนี้สามารถพบประวัติคนในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อหรือญาติผู้ชายที่เคยมีการเจริญเติบโตช้าและเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มช้า แต่สุดท้ายก็มีส่วนสูงปกติ รวมถึงเด็กบางคนจะมีการเจริญเติบโตทางเพศช้า เช่น สาวช้า หนุ่มช้า แต่สุดท้ายจะพัฒนาการทางเพศสมบูรณ์และมีส่วนสูงปกติ
2. ภาวะเตี้ยผิดปกติ
สภาวะที่บุคคลมีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ปกติเมื่อเทียบกับอายุและเพศ โดยทั่วไปหมายถึงผู้ที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 3 หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเมื่อเทียบกับประชากรในวัยและเพศเดียวกัน โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s Disease) และโรคเซลิแอค (Celiac Disease) ที่มาจากภาวะขาดสารอาหาร เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือมีปัญหาการดูดซึมอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง และโรคเซลิแอค อาจทำให้เด็กเจริญเติบโตช้าและตัวเตี้ย
นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากโรคเรื้อรังและความผิดปกติของระบบต่าง ๆ เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคทางต่อมไร้ท่อ (Hypothyroidism) ที่มีผลต่อฮอร์โมนเจริญเติบโต เช่น ฮอร์โมนการเจริญเติบโต ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนเพศ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากสงสัยว่าลูกอาจมีปัญหาทางการแพทย์ ควรพาไปพบแพทย์ต่อมไร้ท่อเด็ก (Pediatric Endocrinologist) เพื่อตรวจเพิ่มเติม
ตรวจสอบยังไงเมื่อสงสัยว่าลูกไม่สูง มีภาวะตัวเตี้ย ขาดโกรทฮอร์โมน ?
หากลูกมีภาวะตัวเตี้ยหรือลูกไม่สูงตามเกณฑ์ ควรพิจารณาสาเหตุและหาทางแก้ไขอย่างเหมาะสม เริ่มจากเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก (WHO Growth Chart) และแนะนำให้วัดความสูงในตอนเช้าหลังตื่นนอน เนื่องจากร่างกายจะสูงที่สุดในช่วงเวลานี้ โดยสังเกตได้จากอัตราการเจริญเติบโต เพราะเด็กปกติควรมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างน้อย 5 ซม.ต่อปีในช่วงวัยเด็ก และประมาณ 8-14 ซม.ต่อปี ในช่วง Growth Spurt หากช้ากว่านี้ควรพบแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องตรวจสอบความสูงอย่างสม่ำเสมอทุก 3-6 เดือน ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และทุก 6-12 เดือนในเด็กวัยเรียน ซึ่งสามารถนำข้อมูลมาเทียบจากเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง และเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย
นอกจากนี้เมื่อเทียบสัดส่วนความสูงกับความยาวลำตัวและแขนขา หากไม่สมดุลอาจบ่งชี้ถึงความผิดปกติ ทั้งนี้ดูได้จากการที่ส่วนสูงต่ำกว่า Percentile ที่ 3 และอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติติดต่อกัน 2-3 ปี หรือเริ่ม Growth Spurt ช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกันมาก นอกจากนี้หากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักขึ้นมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์
วิธีแก้ปัญหาลูกไม่สูง
แม้พันธุกรรมจะมีบทบาทสำคัญต่อความสูง แต่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมก็มีผลอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของลูก ซึ่งผู้ปกครองมีส่วนสำคัญสังเกตลูกอย่างใกล้ชิดและหากพบว่าลูกไม่สูงตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น จะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
วิธีช่วยให้ลูกสูงขึ้นตามธรรมชาติ มี 4 วิธี ได้แก่
- โภชนาการที่ดี เน้นโปรตีนสูงจากไข่ นม เนื้อสัตว์ และถั่ว ที่จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงแคลเซียมและวิตามินดีจากนม ชีส ปลาตัวเล็ก เห็ด นอกจากนี้สังกะสี (Zinc) จากอาหารทะเล ถั่วแดง และตับ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต ควรหลีกเลี่ยงอาหารขยะที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เพราะอาจรบกวนฮอร์โมนการเติบโต
- ปรับพฤติกรรมการนอน โดยให้ลูกนอนก่อน 4 ทุ่ม และนอนให้ได้วันละ 8-10 ชั่วโมง ควรปิดไฟห้องนอน ลดเสียงรบกวน เพื่อให้เข้าสู่ช่วงหลับลึกเร็วขึ้น
- ออกกำลังกายกระตุ้นความสูง ด้วยการโหนบาร์เพื่อช่วยยืดกระดูกสันหลัง กระโดดเชือก เล่นบาสเกตบอล วอลเลย์บอลเพื่อกระตุ้นการเติบโตของกระดูก และว่ายน้ำช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของร่างกาย
- ลดความเครียด เนื่องจากความเครียดอาจลดการหลั่งโกรทฮอร์โมน จึงควรส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่สนุกและผ่อนคลาย
การรักษาทางการแพทย์ (ถ้าจำเป็น)
หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความสูงได้ จึงแนะนำว่ามาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- ถ้าตรวจพบว่าลูกไม่สูง เพราะมีภาวะขาดโกรทฮอร์โมน (GHD) แพทย์อาจพิจารณาให้ฉีดโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone Therapy) เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต
- ควรเริ่มรักษาเร็วที่สุดเพราะกระดูกปิดแล้วจะสูงเพิ่มได้ยาก โดยเฉพาะช่วงอายุไม่เกิน 12-14 ปี
- การรักษาสาเหตุโรคประจำตัว เช่น ภาวะขาดไทรอยด์หรือโรคลำไส้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ เพิ่มความสูงกับประสบการณ์กว่า 20 ปี
ถ้าลูกไม่สูงตามเกณฑ์ควรเริ่มจากการแก้ปัญหาตามที่เราบอกไปควบคู่กับตามลำดับขั้นตอน ทั้งด้านโภชนาการที่ดี การนอน และออกกำลังกาย ฯลฯ หากทำแล้วลูกไม่สูงตามเกณฑ์ปกติอีก แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการที่เมดิก้า เซ็นเตอร์ เพราะสามารถตรวจสอบและออกแบบโปรแกรมอย่างเหมาะสมเฉพาะบุคคลได้ ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี ผู้ปกครองจึงมั่นใจเรื่องการเพิ่มความสูงให้ลูกได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง (references)
- Mayo Clinic – Growth hormone deficiency in children: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/growth-hormone-deficiency
- Cleveland Clinic – Short Stature: https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17936-short-stature
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: https://www.anamai.moph.go.th
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
Growth Spurt คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการเพิ่มความสูงในเด็ก ?
ลูกไม่สูง มีภาวะตัวเตี้ย ขาดโกรทฮอร์โมนแก้ปัญหาอย่างไร
วิธีเพิ่มความสูงผู้หญิงหลังมีประจำเดือน มีอะไรบ้าง
อยากสูงควรนอนกี่โมง? นอนอย่างไรให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนมากที่สุด
เด็กนอนดึกควรแก้ปัญหาอย่างไรให้ตรงจุด
ผ่าตัดเพิ่มความสูง เหมาะกับใคร ? อันตรายหรือไม่ ?
วิธีเพิ่มความสูงผู้ชายช่วงวัยรุ่น มีอะไรบ้าง
กินอะไรหลับง่าย 10 อาหารกินแล้วง่วง แก้โรคนอนไม่หลับ
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่