ส่วนสูง ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นบุคลิกภาพภายนอกที่ช่วยทำให้คุณดูโดดเด่นสะดุดตา และยังสามารถบ่งบอกถึงสุขภาพภายในได้อีกด้วย วันนี้เมดิก้า เซ็นเตอร์จึงจะมาพูดถึงส่วนสูงมาตรฐานของหนุ่มไทยให้ฟังกัน มาดูกันค่ะว่าส่วนสูงในขณะนี้ของคุณหรือลูกของคุณอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ?
น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานของผู้ชายคืออะไร
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย เป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการช่วยวัดอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงมาตรฐานของเด็กชายไม่เพียงมีความสำคัญต่อการช่วยทำให้คุณพ่อ คุณแม่ และผู้ปกครองทุกคนสามารถทราบได้ว่าเด็ก ๆ กำลังเติบโตได้อย่างสมวัยหรือไม่ แต่ยังช่วยให้สามารถค้นพบความผิดปกติในด้านของอัตราการเจริญเติบโตของลูกน้อยที่ช้าหรือเร็วเกินไปได้อย่างทันท่วงที จนทำให้สามารถวางแผนรับมือและเตรียมความพร้อมสำหรับดูแลพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากที่สุด
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย โดยเฉลี่ยเป็นอย่างไร
จากข้อมูลข้างต้นเรามาเริ่มดูส่วนสูงโดยเฉลี่ยปัจจุบันของแต่ละคนกันก่อนว่า หากเทียบส่วนสูงกับน้ำหนักแล้วเป็นเท่าไร โดยจากการศึกษาเกี่ยวกับขนาดรูปร่างของคนไทยในหลากหลายกลุ่มอายุ ตามข้อมูลจากโครงการสำรวจและวิจัยมาตรฐานขนาดรูปร่างคนไทย (SizeThailand) พบว่า ผู้ชายไทยส่วนใหญ่จะมีส่วนสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 169.4 เซนติเมตร และน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 68.9 กิโลกรัม นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ได้จัดเกณฑ์ความสูงชุดใหม่ขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรฐานวัดการเจริญเติบโตของเด็กผู้ชายอายุ 6 -19 ปี โดยได้สำรวจข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง และรอบเอว ของเด็กอายุ 4-6 เดือน ไปจนถึง 19 ปี จำนวน 46,587 คน ในช่วงปี 2558 – 2562 พบปัญหาเด็กไทยมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะอ้วนจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง ป่วยบ่อย ทำให้ส่วนสูงที่วัดออกมาโดยเฉลี่ยของชายไทยนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 166 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมาก ซึ่งความสูงมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้คือ 177 เซนติเมตร และมีเป้าหมายไว้ว่าในปี 2569 ส่วนสูงมาตรฐานชายไทยอายุ 19 ปี ต้องสูง 175 เซนติเมตรขึ้นไป ดังนั้นสำหรับใครที่มีแนวโน้มว่าตัวเตี้ย หรือกังวลว่าลูกของคุณอาจจะเตี้ย อยากให้พ่อแม่ลองเทียบอายุ ส่วนสูง และชั่งน้ำหนักลูกเองดูก่อน
ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย ช่วงอายุ 10-18 ปี
แนวทางการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงให้ลูก
การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่สามารถติดตามพัฒนาการของลูกตามเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามเพื่อช่วยทำให้ผลลัพธ์ของการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด คุณพ่อและคุณแม่ควรทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของลูกอย่างถูกวิธี ดังนี้
- การชั่งน้ำหนัก
- ควรชั่งน้ำหนักในช่วงเช้าหลังจากที่ลูกน้อยตื่นนอนและเข้าห้องน้ำแล้ว เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวร่างกายจะไม่มีการบวมน้ำหรือมีของเหลวต่าง ๆ ที่อาจทำให้การชั่งน้ำหนักเกิดความคลาดเคลื่อนได้
- ควรให้ลูกน้อยสวมใส่เสื้อผ้าที่เบาสบายและไม่สวมรองเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ผลลัพธ์ของการชั่งน้ำหนักมีความคลาดเคลื่อนจากน้ำหนักของเสื้อผ้าหรือรองเท้า
- ควรชั่งน้ำหนักในช่วงเวลาเดียวกันทุกครั้ง เพื่อให้สามารถติดตามน้ำหนักและเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายได้อย่างแม่นยำ
- การวัดส่วนสูง
- ควรให้ลูกยืนตรงแนบผนังหรือแผ่นวัด แขนวางข้างลำตัว เท้าชิดกัน และไม่โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อช่วยทำให้การวัดส่วนสูงมีความแม่นยำมากที่สุด
- ควรวัดส่วนสูงซ้ำ 2-3 ครั้งในวันเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด
- หลีกเลี่ยงการวัดส่วนสูงหลังจากการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายมีอาการบวมหรือเหนื่อยล้า เพราะอาจทำให้การวัดผลไม่ตรงตามความจริงได้
วิธีคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สมส่วน
โดยเมื่อรู้น้ำหนักและส่วนสูงแล้วให้นำมาหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการช่วยคำนวณและประเมินความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูงของแต่ละบุคคล เพื่อให้สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจนว่าบุคคลนั้น ๆ มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ โดยหลังจากที่ได้มีการคำนวณ BMI เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้คำนวณทุกคนจะสามารถตรวจสอบเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายและทราบผลลัพธ์ได้ในทันทีว่า ตนเองเป็นผู้ที่กำลังอยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวที่สมส่วน หรืออยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวเกินและมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ หรือไม่
โดยในการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จะสามารถคำนวณได้จากสูตร BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ (ส่วนสูง (เมตร)²) ตัวอย่างเช่น หากคุณมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม และส่วนสูง 1.75 เมตร ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของคุณจะ = 70 ÷ (1.75)² = 22.86 ซึ่งสามารถแปลผลลัพธ์ของค่า BMI ได้ดังนี้
- ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 = น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (Underweight)
- ค่า BMI 18.5 – 22.9 = น้ำหนักปกติ (Normal weight)
- ค่า BMI 23 – 24.9 = น้ำหนักเกิน (Overweight)
- ค่า BMI 25 – 29.9 = อ้วน หรือ โรคอ้วนระดับที่ 1 (Obesity Class 1)
- ค่า BMI 30 หรือมากกว่า = อ้วนมาก หรือ โรคอ้วนระดับที่ 2 (Obesity Class 2)
เป็นอย่างไรบ้าง ? เราหวังว่าหากพ่อแม่ทำตามคำแนะนำเหล่านี้ก็จะเข้าใจเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชายมากขึ้นแล้ว แต่ถ้ารู้สึกว่าต้องการเพิ่มโอกาสสูงให้ลูก สามารถมาปรึกษาเราที่เมดิก้า เซ็นเตอร์ เพื่อประเมินโอกาสสูง พร้อมวางแผนการดูแลเฉพาะบุคคลจากแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยเราพร้อมติดตามผลอย่างใกล้ชิดตลอดทุกช่วงการเจริญเติบโตเพื่อได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ตั้งใจ
คำถามที่พบบ่อย
Q : ดื่มนมเยอะช่วยให้สูงไหม ?
A : หลังจากรู้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้ว หากลูกของคุณอยู่ในเกณฑ์เตี้ย พ่อแม่หลายคนอาจนึกถึงสิ่งที่เคยเข้าใจว่า การดื่มนมเยอะ ๆ จะช่วยให้ลูกตัวสูงเพราะแคลเซียมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการสร้างกระดูก แต่ข้อเท็จจริงที่หลายคนไม่ทราบคือ แคลเซียมช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรง ไม่เปราะ แตก หักง่าย แต่ไม่ได้มีหน้าที่ช่วยยืดขยายกระดูกให้ใหญ่และยาวขึ้น ทำให้การดื่มนมเยอะจึงไม่ได้ช่วยให้สูงแต่อย่างใด ดังนั้นหากใครที่ต้องการตัวสูงหรืออยากให้ลูกตัวสูงควรจะเน้นการออกกำลังกายแบบแรงดึง เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์กระดูก แล้วให้การดื่มนมนั้นเป็นส่วนเสริมแคลเซียมในการบำรุงควบคู่กันไปนั่นเอง โดยสามารถอ่านบทความ ‘10 นมเพิ่มความสูง’ เพิ่มเติมและเลือกนมยี่ห้อที่เหมาะกับแต่ละคนได้เลย
Q : ความสูงเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างเดียวจริงหรือไม่ ?
A : จากความเข้าใจเรื่องความสูงหลายคนมักจะเข้าใจว่า ส่วนสูงนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ใครที่พ่อแม่มีบรรพบุรุษที่สูงย่อมได้เปรียบกว่าคนที่มีพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ตัวเล็ก ข้อเท็จจริงนี้ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะว่าจริงอยู่ที่ส่วนสูงนั้นเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แต่ปัจจัยภายนอกอย่างอาหาร โภชนาการและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉลี่ยแล้วเด็กที่ทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเจริญเติบโตได้มากกว่าเด็กที่รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคขาดสารอาหาร ภาวะร่างกายขาดฮอร์โมน หรือในบางกรณีก็เกิดจากภาวะพยาธิสภาพหรือสภาพโรค (Disease)
Q : เล่นบาสเกตบอลทำไมถึงสูง ?
A : หลายคนสงสัยว่า ‘เล่นบาสสูงไหม’ การเล่นกีฬาบาสเกตบอลอาศัยการก้าวกระโดดและการยืดตัว ทำให้กล้ามเนื้อทุกมัดได้รับการกระตุ้น ข้อต่อต่าง ๆ มีการยืดขยาย ดังนั้นร่างกายของเด็กวัยเจริญเติบโตจึงสามารถสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุช่วง 12 – 16 ปีนั้นถ้าเด็ก ๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจนกว่าจะถึงวัยกระดูกปิดประมาณอายุ 25 ปี
แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าหากเด็ก ๆ เล่นบาสอย่างไม่ถูกวิธี ไม่ทราบกติกา กฎการแข่งขัน ตลอดจนความปลอดภัยในการเล่น นอกจากไม่ทำให้สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ๆ อีกด้วย
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
เล่นโยคะเพิ่มความสูงได้จริงไหม เล่นท่าไหนถึงได้ผลดี
เช็กด่วน ! สัญญาณหยุดสูงผู้ชายและผู้หญิงมีอะไรบ้าง
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง 2568
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย 2568
แนะนำ 7 เมนูอาหารโปรตีนสูง เหมาะสำหรับคนอยากสูง
10 นมเพิ่มความสูง แหล่งแคลเซียมชั้นดีใกล้ตัว ช่วยเพิ่มโอกาสสูงได้ง่าย ๆ
วิธีทำให้สูงขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด มีวิธีไหนบ้าง ?
เทคนิค 5 ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูงด้วยทฤษฎีแรงดึง (Traction Exercise Theory)
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่