ความสูงเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดพัฒนาการที่สำคัญของเด็ก การติดตามและเปรียบเทียบส่วนสูงกับเกณฑ์มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพ่อแม่ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมตามวัย บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกณฑ์ความสูงเด็กและวิธีการแก้ไขหากพบว่าลูกมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือ “ตัวเล็ก” กว่าเพื่อนหรือเด็กในวัยเดียวกัน ?
ตัวสูง VS ตัวเตี้ย สำคัญยังไง ?
ส่วนสูงของคนเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกับรหัสพันธุกรรมและการจับคู่ของโครโมโซม ทำให้เด็กที่มีพ่อแม่สูง หรือบรรพบุรุษเป็นคนสูงก็มีแนวโน้มว่าจะมีส่วนสูงมากกว่าคนที่มีพ่อแม่หรือบรรพบุรุษที่มีความสูงต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนตัวเล็กจะไม่สามารถสูงได้เลยนะคะ เพราะปัจจัยที่จะทำให้สูงนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งในกรณีที่เด็กมีพ่อแม่ตัวเล็กแต่ได้รับการกระตุ้นได้ดีตั้งแต่เด็กก็สามารถตัวสูงได้เทียบเท่ากับคนที่มีพ่อแม่ตัวสูง โดยปัจจัยหลักจะมีดังนี้
- อาหารและโภชนาการเด็ก
- การเลี้ยงดู
- การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ทำไมเด็กผู้ชายโตช้ากว่าเด็กผู้หญิง
ปกติแล้วพัฒนาการด้านความสูงของเด็กผู้หญิงนั้นจะมีความโตเร็ว หรือ “ยืดตัว” มากกว่าเด็กผู้ชายประมาณ 1-2 ปี จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นหรือช่วงที่มีประจำเดือนครั้งแรก (ช่วงอายุประมาณ 10 -13 ปี) อัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นจะค่อย ๆ ลดลงและจะหยุดที่อายุประมาณ 16 ปี หรือเมื่อมีประจำเดือนครั้งแรก
ส่วนเด็กผู้ชายจะดูตัวเล็กกว่าเด็กผู้หญิงในช่วงอายุ 8-10 ปี จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น (ช่วงอายุประมาณอายุ 12 – 15 ปี) อัตราความสูงจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งถึงอายุ 20 ปี (ในบางรายอาจจะหยุดสูงที่อายุ 25 ปี)
เกณฑ์ความสูงเด็กตามมาตรฐาน
วิธีสังเกตว่าลูกของคุณนั้นมีพัฒนาการช้ามากกว่าเพื่อน ๆ หรือไม่ ? สามารถประเมินการเจริญเติบโตโดยวัดจากส่วนสูงของลูกแล้วนำไปเปรียบเทียบกับส่วนสูงขนาดมาตรฐาน ดังนี้
ทำอย่างไรถ้าลูกตัวเล็ก ส่วนสูง “ต่ำกว่า” เกณฑ์ความสูงเด็ก
1. ตรวจร่างกาย
ในบางกรณีที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าอาจจะมีสาเหตุมาจาก ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) อันเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีรูปร่างที่เตี้ย ตัวเล็ก และมีพัฒนาการช้า โรคโลหิตจางเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Sickle Cell Anemia) อันนี้เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยผลิตเม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างคดงอ คล้ายเคียว ซึ่งผิดปกติจากคนทั่วไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการการเจริญเติบโตทางร่างกายช้า มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ : อาการนี้ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายเติบโตช้า ทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าคนอื่น ๆ และยังเป็นสาเหตุของภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) และภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone Deficiency) อีกด้วย ดังนั้นหากลูกตัวเล็กเกินมาตรฐานควรพาไปตรวจร่างกายกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
2. รับประทานอาหารไม่เหมาะสม
ในยุคปัจจุบันพ่อแม่หลาย ๆ บ้านมักมีเวลาเตรียมอาหารให้ลูกทานน้อยลงเพราะต้องเร่งรีบออกไปทำงาน ทำให้อาหารหลาย ๆ มื้อของหลายบ้านมักจะผูกขาดอยู่กับอาหารแปรรูป อาหารแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูป ซึ่งเต็มไปด้วยโซเดียม สารกันบูด และคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือในเด็กบางรายมีภาวะเลือกทานเฉพาะของที่ตัวเองชอบ ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ ทางที่ดีพ่อแม่ควรเตรียมอาหารให้ลูกทานเอง และควรเตรียมอาหารที่หลากหลาย มีวัตถุดิบผสม ๆ กันที่แน่ใจได้ว่าเด็กจะไม่สามารถเลือกทานได้ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอสำหรับพัฒนาการทางด้านร่างกาย
3. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเพิ่มความสูงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะการออกกำลังกายรูปแบบนี้จะไม่ได้เป็นการเล่นกีฬาแบบปกติ แต่ต้องเน้นไปที่การออกกำลังกายแบบยืดและกระโดดตัวเป็นหลัก เช่น การเล่นบาส โหนบาร์ และการว่ายน้ำอย่างต่อเนื่องทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 30-40 นาที
4. การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาภาวะเตี้ย และสำหรับผู้ที่ต้องการปรับบุคลิกภาพมากมาย ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป พ่อแม่สามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมกับช่วงวัยและความปลอดภัยของลูกได้เลยค่ะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช็กเกณฑ์ความสูงของลูก
- ติดตามวัดส่วนสูงและน้ำหนักของลูกอย่างสม่ำเสมอทุก 3-6 เดือน
- บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตลงในสมุดบันทึกสุขภาพ
- สังเกตอัตราการเจริญเติบโตเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
- หากพบความผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กโดยเร็ว
เข้าใจและพัฒนาความสูงของลูกอย่างถูกวิธี
การติดตามพัฒนาการด้านความสูงของเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อความสูง แต่การดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กก็สามารถช่วยให้เด็กมีส่วนสูงที่ดีได้ ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายที่เหมาะสม และอาจพิจารณาใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เมื่อจำเป็น หากพบว่าลูกมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
เล่นโยคะเพิ่มความสูงได้จริงไหม เล่นท่าไหนถึงได้ผลดี
เช็กด่วน ! สัญญาณหยุดสูงผู้ชายและผู้หญิงมีอะไรบ้าง
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง 2568
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย 2568
แนะนำ 7 เมนูอาหารโปรตีนสูง เหมาะสำหรับคนอยากสูง
10 นมเพิ่มความสูง แหล่งแคลเซียมชั้นดีใกล้ตัว ช่วยเพิ่มโอกาสสูงได้ง่าย ๆ
วิธีทำให้สูงขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด มีวิธีไหนบ้าง ?
เทคนิค 5 ท่าออกกำลังกายเพิ่มความสูงด้วยทฤษฎีแรงดึง (Traction Exercise Theory)
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่