แคลเซียม คืออะไร ? แคลเซียมเพิ่มความสูงได้จริงไหม ?

แคลเซียม คือ อะไร เพิ่มความสูงได้จริงไหม-เมดิก้า คลินิกความสูง

เมื่อพูดถึงสารอาหารสำคัญต่อร่างกาย แคลเซียม คือหนึ่งในแร่ธาตุที่หลายคนนึกถึงเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นที่หลาย ๆ คนให้ความสำคัญในเรื่องความสูง บทความนี้จะพาทุกท่านทำความเข้าใจว่า แคลเซียม คืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อร่างกาย และช่วยเพิ่มความสูงได้จริงหรือไม่ พร้อมตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกและบริโภคแคลเซียมอย่างถูกต้อง

แคลเซียม คืออะไร ทำไมร่างกายถึงต้องการ ?

แคลเซียม คือ แร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ คิดเป็นประมาณ 1.5-2% ของน้ำหนักตัว โดยกว่า 99% ของแคลเซียมในร่างกายจะสะสมอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนที่เหลืออีก 1% จะกระจายอยู่ในเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ

ประโยชน์ของแคลเซียม

หน้าที่หลักของแคลเซียมไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายอีกมากมาย ได้แก่

การเสริมสร้างและบำรุงรักษากระดูกและฟัน : แคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟัน ช่วยให้โครงสร้างแข็งแรงขึ้นและเสริมความหนาแน่นของกระดูก ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น แคลเซียมช่วยในการสร้างมวลกระดูกและช่วยให้กระดูกยาวขึ้นได้เต็มศักยภาพ ส่วนในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แคลเซียมช่วยรักษาความแข็งแรงของกระดูกและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก

การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท : แคลเซียมช่วยในการส่งกระแสประสาท ปล่อยสารสื่อประสาท และควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย

การแข็งตัวของเลือด : แคลเซียมช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและยังเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดเมื่อเกิดบาดแผล

การทำงานของฮอร์โมนและเอนไซม์ : มีส่วนร่วมในการหลั่งฮอร์โมนและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด

การสื่อสารระหว่างเซลล์ : แคลเซียมทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณภายในเซลล์

แคลเซียมมีอะไรบ้าง ? ประเภทของแคลเซียมที่พบในอาหารและผลิตภัณฑ์เสริม

แคลเซียมมีหลายรูปแบบที่ใช้ในอาหารเสริม โดยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและวิธีการดูดซึมที่แตกต่างกัน การเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้เลือกประเภทที่เหมาะสมกับความต้องการและสภาพร่างกายของแต่ละคน

  • แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate) ดูดซึมได้ประมาณ 10% ควรกินพร้อมอาหารเพื่อการดูดซึมที่ดีขึ้น และอาจทำให้ท้องอืดหรือท้องผูก เหมาะกับผู้ที่มีกรดในกระเพาะในระดับปกติ
  • แคลเซียมซิเตรต (Calcium Citrate) ดูดซึมได้ประมาณ 50% ควรทานพร้อมอาหาร เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำ
  • แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต (Calcium L-Threonate) ดูดซึมได้มากกว่า 90% สามารถทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร โดยไม่ทำให้ท้องอืดหรือท้องผูก เหมาะกับผู้ที่ต้องการแคลเซียมเป็นพิเศษโดยไม่เสี่ยงอาการท้องอืด ปวดท้อง ท้องอืด เหมาะกับผู้ที่ต้องการแคลเซียมเป็นพิเศษและไม่ต้องการประสบปัญหาด้านการย่อย แต่มีราคาสูงกว่ารูปแบบอื่น

ตารางเปรียบเทียบประเภทของแคลเซียมในอาหารเสริม

ประเภทแคลเซียม อัตราการดูดซึม ควรทานเมื่อไร เหมาะกับใคร ผลข้างเคียงที่พบได้
Calcium Carbonate
~10%
พร้อมอาหาร
ผู้มีกรดในกระเพาะปกติ
ท้องอืด ท้องผูก
Calcium Citrate
~50%
พร้อมอาหาร
ผู้สูงอายุ กรดในกระเพาะต่ำ
-
Calcium L-Threonate
>90%
ก่อน/หลังอาหาร
ผู้ต้องการแคลเซียมสูง
-

การเลือกประเภทแคลเซียมควรพิจารณาจากสภาพร่างกาย อายุ และความสามารถในการดูดซึม ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกรดกระเพาะหรือระบบย่อยอาหารควรเลือกประเภทที่ดูดซึมง่ายและไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียง

แคลเซียมเพิ่มความสูงได้จริงไหม ? หลักการทำงานของแคลเซียมกับความสูง

แคลเซียม คือสารอาหารที่มีความจำเป็นกับร่างกายทำให้กระดูกมีความแข็งแรงและหนาแน่น จึงส่งผลกับความสูงโดยตรง แต่แคลเซียมก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่กำหนดความสูงของแต่ละคน เพราะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (Growth Spurt) การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างมวลกระดูกและช่วยให้กระดูกยาวขึ้นได้เต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความสูงของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน ได้แก่

  1. พันธุกรรม : เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด กำหนดกรอบความสูงที่เป็นไปได้ของแต่ละคน
  2. โภชนาการ : การได้รับสารอาหารครบถ้วนโดยเฉพาะโปรตีน รวมถึงวิตามินดี หากกินควบคู่ไปกับแคลเซียมจะทำให้แคลเซียมดูดซึมเข้ากระดูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูก
  3. การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่น การกระโดด วิ่ง เล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล แบดมินตัน ช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูกและเสริมความแข็งแรง
  4. ฮอร์โมน : ฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และฮอร์โมนอื่น ๆ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย
  5. การนอนหลับพักผ่อน : การนอนหลับที่เพียงพอช่วยให้ร่างกายผลิตโกรทฮอร์โมนได้อย่างเต็มที่

ความต้องการแคลเซียมในแต่ละช่วงวัย

ร่างกายของแต่ละคนมีความต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโต การสร้างมวลกระดูก และการรักษาสมดุลของร่างกาย การเข้าใจความต้องการเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการกินแคลเซียมได้อย่างเหมาะสม

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวัน สำหรับเด็กและวัยรุ่น

  • ทารก (0-6 เดือน) : ช่วงนี้นมแม่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นแคลเซียมที่เด็กต้องอยู่ที่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • เด็กเล็ก (7-12 เดือน) : เป็นช่วงเริ่มเสริมอาหารและต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาฟันน้ำนม ปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 260 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็ก (1-3 ปี) : ช่วงเรียนรู้การกิน ฟันเริ่มขึ้นครบจึงต้องการแคลเซียมเพื่อกระดูกแข็งแรง ปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 700 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เด็กโต (4-8 ปี) : ช่วงที่ร่างกายเริ่มเติบโตเร็วขึ้น มีการทำกิจกรรมด้านร่างกายเพิ่มมากขึ้น ปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วัยรุ่น (9-18 ปี) : วัยนี้เป็นวัยที่ร่างกายสะสมมวลกระดูกได้มากที่สุด ซึ่งเราสามารถกำหนดความแข็งแรงของกระดูกในอนาคตได้ ช่วงนี้จึงสำคัญมาก โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

ความต้องการแคลเซียมของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

  • ผู้ใหญ่ (19-50 ปี) : เป็นช่วงที่ต้องรักษาสมดุลและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้สูงอายุ (> 50 ปี) : ต้องการแคลเซียมเพื่อชดเชยการสูญเสียมวลกระดูกตามธรรมชาติ ส่วนหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เสี่ยงกระดูกพรุนสูง โดยปริมาณที่ร่างกายต้องการคือ 1,000-1,300 มิลลิกรัมต่อวัน

ตารางแคลเซียม (CALCIUM) ที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย

ช่วงวัย ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน
0–6 เดือน
200 มิลลิกรัม
7–12 เดือน
260 มิลลิกรัม
1–3 ปี
700 มิลลิกรัม
4–8 ปี
1,000 มิลลิกรัม
9–18 ปี
1,300 มิลลิกรัม
19-50 ปี
1,000 มิลลิกรัม
>50 ปี
1,000-1,300 มิลลิกรัม

อ้างอิงข้อมูล : https://ods.od.nih.gov/factsheets/Calcium-Consumer/

สัญญาณและอาการขาดแคลเซียม

การขาดแคลเซียมอาจแสดงอาการได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การรู้จักสังเกตอาการเหล่านี้จะช่วยให้สามารถปรับปรุงการรับประทานแคลเซียมได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นที่ร่างกายกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

อาการขาดแคลเซียมระยะสั้น

เมื่อระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำลงกะทันหัน (Hypocalcemia ชนิดเฉียบพลัน) อาจส่งผลต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจ อาการที่พบบ่อยในระยะสั้น ได้แก่ 

  • ชาตามปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปาก มักเริ่มจากความรู้สึกซ่าหรือเหมือนเข็มทิ่ม
  • กล้ามเนื้อกระตุกหรือเกร็งเป็นพัก (Tetany) เช่น การกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้า มือ เท้า หรืออาจมีอาการมือเกร็งลักษณะ “มือปู” (Carpopedal spasm) 
  • การเป็นตะคริวบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือหลังการออกกำลังกาย ใจสั่นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะแคลเซียมมีผลต่อการนำไฟฟ้าของหัวใจ

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หรือวิตกกังวลมากผิดปกติ เวียนศีรษะ หน้ามืด และความจำสั้นหรือสมาธิสั้นชั่วคราว เพราะแคลเซียมมีบทบาทในกระบวนการส่งสัญญาณของสมอง

ผลกระทบระยะยาวและโรคที่เกี่ยวข้อง

หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในระยะยาว อาจส่งผลให้ร่างกายขาดแคลเซียมจนเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น กระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะ หรือในกรณีรุนแรงอาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้ ปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมา ได้แก่ ฟันผุและปัญหาเหงือก ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็งหรือชักเป็นระยะ การเป็นตะคริวหรือชาบ่อยครั้ง และในกรณีรุนแรงอาจมีปัญหาหัวใจเต้นผิดปกติ

แหล่งอาหารแคลเซียมสูง

ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมได้เอง แต่เราสามารถได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารหลากหลายชนิด การเลือกกินอาหารที่หลากหลายจะช่วยให้ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ

อาหารที่มีแคลเซียมสูง 

นมเพิ่มความสูงและผลิตภัณฑ์จากนม ชีส โยเกิร์ต ชีส เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดและดูดซึมง่าย นมสดแก้ว 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) ให้แคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม ชีสแข็ง 1 ชิ้น (30 กรัม) ให้แคลเซียมประมาณ 200-300 มิลลิกรัม และโยเกิร์ตธรรมดา 1 ถ้วย ให้แคลเซียมประมาณ 250-400 มิลลิกรัม สำหรับผู้ที่แพ้นมวัวหรือไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ สามารถเลือกนมพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ที่เสริมแคลเซียม หรือผลิตภัณฑ์นมที่ปราศจากแลคโตส

ผักใบเขียว ถั่ว และอาหารทะเลที่อุดมไปด้วยแคลเซียม

ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า บรอกโคลี ตำลึง ผักบุ้งจีน มีแคลเซียมสูงและยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ คะน้า 1 ถ้วย (หั่น) ให้แคลเซียมประมาณ 100-150 มิลลิกรัม

อาหารจำพวกปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดี ปลาซาร์ดีนกระป่อง 100 กรัม ให้แคลเซียมถึง 380 มิลลิกรัม

กลุ่มธัญพืชและถั่ว เช่น งาดำ ถั่วเหลือง เต้าหู้ อัลมอนด์ ถั่วเซซะมิ งาดำ 2 ช้อนโต๊ะ ให้แคลเซียมประมาณ 180 มิลลิกรัม เต้าหู้แผ่น 1 แผ่น ให้แคลเซียมประมาณ 150-200 มิลลิกรัม

การรับแสงแดดอย่างเพียงพอยังช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม แนะนำให้รับแสงแดดยามเช้าประมาณ 10-15 นาทีต่อวัน

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม

สำหรับคนที่มีเวลาน้อยหรือคาดว่าตัวเองกินอาหารแต่ละมื้อแล้วได้สารอาหารไม่ครบถ้วน การกินแคลเซียมเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและได้รับความนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงขาดแคลเซียม เช่น ผู้สูงอายุ วัยรุ่นช่วงเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีปัญหาด้านกระดูก โดยอาหารเสริมแคลเซียมในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเม็ดสำหรับเคี้ยวหรือเม็ดแคปซูล แคลเซียมแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ และแคลเซียมผงผสมเครื่องดื่ม

วิธีการเลือกและกินแคลเซียมเสริมอย่างถูกต้อง

การเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียมอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแต่ช่วยให้ได้ผลดีเท่านั้น แต่ยังลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียมที่ดูดซึมง่าย เช่น แคลเซียมซิเตรต (Calcium Citrate) เหมาะกับผู้มีปัญหากรดในกระเพาะต่ำ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาต้องมีการตรวจสอบมาตรฐาน อย. หรือ GMP ของผลิตภัณฑ์แล้วเท่านั้น โดยมีแนวทางการกินดังนี้

  • กินพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที
  • หลีกเลี่ยงการทานแคลเซียมพร้อมกับธาตุเหล็ก เพราะอาจลดการดูดซึมของกันและกัน
  • สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป แนะนำให้กินแคลเซียมไม่เกิน 1,000–1,200 มิลลิกรัมต่อวัน รวมจากทั้งอาหารและอาหารเสริม
  • ควรแบ่งทาน 2 ครั้งต่อวัน เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ดีขึ้น เพราะแคลเซียมสามารถดูดซึมได้เพียง 400 มิลลิกรัมต่อการกิน 1 ครั้ง แนะนำว่าให้ตรวจสอบปริมาณแคลเซียมรวมต่อวันจากทุกแหล่งก่อนกินอาหารเสริมแคลเซียมจะดีที่สุด

ข้อควรระวังในการกินแคลเซียม

ถึงแม้ว่าแคลเซียมคือแร่ธาตุที่มีประโยชน์มาก แต่การกินแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินไป โดยปกติไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ผลข้างเคียงจากการได้รับแคลเซียมมากเกินไป

หากกินแคลเซียมมากเกินไปโดยไม่มีการปรับสมดุลน้ำจะทำให้ท้องผูก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายด้านอื่น ๆ ตามมา นอกจากนี้อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุอื่น เช่น ธาตุเหล็กและแมกนีเซียม หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไต เราจึงควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการหากต้องการเสริมแคลเซียมในปริมาณสูง

การโต้ตอบกับยาและสารอาหารอื่น ๆ

แม้ว่าแคลเซียมจะเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่หากกินร่วมกับยาหรือสารอาหารบางชนิด อาจส่งผลให้ลดประสิทธิภาพการทำงานของแคลเซียมหรือยาชนิดนั้น ๆ ได้ ดังนั้นจึงควรรู้วิธีกินอย่างเหมาะสมและระมัดระวัง ทั้งนี้กลุ่มยาที่ไม่ควรกินร่วมกับแคลเซียม ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเททราไซคลีนและฟลูโอโรควิโนโลน, ยารักษากระดูกพรุน (Bisphosphonates), ยาขับปัสสาวะกลุ่มไทอะไซด์, ยาลดกรดที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแคลเซียม

แคลเซียมกินตอนไหนดีที่สุด

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการกินแคลเซียม คือ หลังมื้ออาหารและช่วงเวลากลางคืนก่อนเข้านอน เพราะร่างกายจะนำแคลเซียมไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกมากที่สุดในช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้การรับประทานพร้อมอาหารยังช่วยเพิ่มการดูดซึมและลดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร

หากต้องรับประทานแคลเซียมในปริมาณมาก ควรแบ่งเป็น 2-3 ครั้ง โดยห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แคลเซียมห้ามกินกับอะไร

ห้ามกินกับธาตุเหล็ก กลุ่มอาหารที่มีไฟเตต (Phytate) และออกซาเลต (Oxalate) สูง เช่น รำข้าว, ถั่วบางชนิด, ผักโขม, ชา, โกโก้ เพราะสารเหล่านี้จับกับแคลเซียมในลำไส้ ทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง นอกจากนี้คาเฟอีนยังมีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะและลดการดูดซึมด้วย สุดท้ายคืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะโซเดียมจะเร่งการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ

กินแคลเซียมมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือท้องผูก โดยเฉพาะจากแคลเซียมคาร์บอเนต อาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง หรือแน่นท้อง ในบางคนอาจเกิดการสะสมแก๊สในลำไส้ ทำให้รู้สึกไม่สบาย

หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติเป็นนิ่วในไตมาก่อน นอกจากนี้ยังอาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น ธาตุเหล็กและแมกนีเซียม

เสริมแคลเซียมอย่างปลอดภัย ปรึกษาได้ที่ เมดิก้า เซ็นเตอร์ เพิ่มความสูง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแคลเซียม คือสิ่งที่ช่วยสนับสนุนพัฒนาการด้านความสูงอย่างแท้จริง แต่การเสริมแคลเซียมก็ยังมีข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึง หากผู้ปกครองยังไม่มั่นใจในการเสริมแคลเซียมอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยด้วยตัวเอง เมดิก้าเซ็นเตอร์ เพิ่มความสูง พร้อมให้คำแนะนำด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย รวมถึงการออกกำลังกายที่ออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคล ดูแลเคสที่ประสบความสำเร็จมาแล้วกว่า 1,000 เคส ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ พร้อมให้คำปรึกษาแบบครอบคลุมทุกด้านเพื่อการเพิ่มความสูงอย่างตามเป้าหมาย

อ้างอิง 

สภาการพยาบาล. (n.d.). เรื่องแคลเซียมต้องรู้. สืบค้นจาก https://nmc.go.th/เรื่องแคลเซียมต้องรู้/

 


อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่

อยากสูง…ปรึกษาเราได้

เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด

ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ

 


เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ