พ่อแม่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมลูกน้อยถึงตัวสูงช้ากว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน จนอาจกังวลใจว่าจะทำยังไงดี วันนี้เรามีสาเหตุและวิธีเพิ่มความสูงให้ลูกน้อยตามช่วงวัยมาฝากพ่อแม่ทุกคน ว่าแต่จะมีอะไรบ้างนั้นมาอ่านกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นเราจะพามาทำความรู้จักกับภาวะตัวเตี้ย เป็นภาวะที่เด็กมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเพศและอายุ ณ ช่วงอายุนั้น ๆ ภาวะตัวเตี้ยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ตัวเตี้ยแบบปกติ คือตัวเตี้ยแต่สุขภาพแข็งแรงสมวัย และตัวเตี้ยแบบผิดปกติ คือเด็กมีความสูงที่ช้าและมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่าปกติ (สูงเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 5 ซม./ปี) นอกจากนี้ยังรวมถึงภาวะตัวเตี้ยแบบไม่ทราบสาเหตุอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ลูกมีส่วนสูงที่ช้ากว่าคนอื่น
- กรรมพันธุ์ หากพ่อหรือแม่มีความสูงน้อย โอกาสที่ลูกจะตัวสูงพอ ๆ กับพ่อแม่จึงมีสูง เพียงแต่บางคนอาจได้รับความสูงมาจากรุ่นปู่ย่าตายายก็มี
- เตี้ยแบบม้าตีนปลาย เป็นภาวะที่เด็กเจริญเติบโตตามปกติ จนกระทั่งอายุประมาณ 2 ขวบ เด็กจะเติบโตช้าลง หรืออาจเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกันเนื่องจากมีอายุกระดูกช้ากว่าคนทั่วไป แต่หลังจากเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วจะเติบโตและสูงเหมือนคนปกติ
- การขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น วิตามิน D
- การทานยาบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
- โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคปอด, โรคไต, โรคหัวใจ ฯลฯ
- ภาวะขาดฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่น ฮอร์โมนเพศ, ฮอร์โมนไทรอยด์
อัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงวัย
1. เด็กแรกเกิด-12 เดือน
- ผู้ชายจะมีส่วนสูงประมาณ 47.6-79.7 ซม.
- ผู้หญิงจะมีส่วนสูงประมาณ 46.8-78.9 ซม.
2. เด็กที่มีอายุ 1-12 ปี
- ผู้ชายจะมีส่วนสูงประมาณ 71-160 ซม.
- ผู้หญิงจะมีส่วนสูงประมาณ 68-160 ซม.
3. เด็กที่มีอายุ 13-18 ปี
- ผู้ชายจะมีส่วนสูงประมาณ 139-180 ซม.
- ผู้หญิงจะมีส่วนสูงประมาณ 140-167 ซม.
สังเกตได้ยังไงว่าลูกสูงช้า
หากผ่านไป 1-2 ปีแล้วลูกมีส่วนสูงเท่าเดิม หรือสูงขึ้นมาน้อยกว่า 3 ซม. หากเทียบกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันคนอื่น ๆ แล้วพบว่าลูกสูงน้อยกว่าพวกเขา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาต้นตอของปัญหาดังกล่าว
อย่าเพิ่งกังวลใจหากลูกสูงช้ากว่าคนอื่น แก้ได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่ไม่น้อยหรือมากเกินไป โดยเฉพาะแคลเซียม, ฟอสฟอรัส, และวิตามินต่าง ๆ
- ออกกำลังกายเพิ่มความสูง เช่น กระโดดเชือก, ว่ายน้ำ, บาสเกตบอล อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ อย่างต่ำ 30 นาที
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-10 ชม. ต่อวัน โดยช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการนอนคือเวลา 22:00-02.00 น. เพื่อไม่ให้รบกวนการผลิตโกรวท์ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
- รักษาโรคเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเตี้ย หรือฉีดโกรทฮอร์โมน
- ปรับบุคลิกภาพที่ส่งผลให้กระดูกคดงอ ดูเตี้ยกว่าปกติ เช่น หากเดินหลังงอ, นั่งหลังค่อม หรือเดินห่อไหล่ จำเป็นต้องนั่งหลังตรง หรือเดินให้ตรง พยายามไม่ห่อไหล่
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
5 วิธีเพิ่มความสูงให้ลูกอย่างสมวัย
กระดูกปิด คือ อะไร ? เกี่ยวข้องกับความสูงอย่างไร ?
การกระตุ้นการแบ่งตัวของกระดูกเพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูง ได้ผลจริงหรือ?
“แอพส่วนสูง” คืออะไร ใช้เทียบส่วนสูงได้ผลจริงหรือ?
โปร..เลเซอร์กำจัดขี้แมลงวัน
Facial Treatment
Mask Treatment
CO2 Laser
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่